Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
โรคหัวใจมีอาการอย่างไรบ้าง
โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย เนื่องจากคนมีพฤติกรรมเสี่ยงกันมากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหาร การไม่ดูแลสุขภาพร่างกาย แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ เพราะอาการบางอย่างอาจจะคล้ายคลึงกับหลายโรค ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการ รวมถึงการป้องกัน เพื่อสำรวจตัวเองว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั่นเอง
อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจมีดังนี้
เจ็บแน่นบริเวณหน้าอกข้างซ้าย หรือทั้งสองด้าน บางรายอาจมีอาการเจ็บร้าวไปถึงแขนซ้าย หรือแขนทั้งสองข้าง
มักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเวลาเคลื่อนไหวร่างกายที่ต้องใช้กำลังมาก หรือขณะออกกำลังกาย เช่น การเดินขึ้นบันได โดยอาการดังกล่าวจะดีขึ้นหลังหยุดออกกำลัง
รู้สึกหอบ หรือเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ ใจสั่น ใจเต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกบ้านหมุน หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม สายตาพร่าเบลอ โดยอาการจะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งแล้วจะหายไปเอง
ขาบวม เพราะหัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจึงไหลจากขาไปที่หัวใจได้ไม่สะดวกจนทำให้เกิดเลือดค้างอยู่บริเวณขานั่นเองประเภทของโรคหัวใจที่สำคัญ
โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าในหัวใจไม่สามารถผ่านทั่วหัวใจได้อย่างปกติทำให้หัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ บางรายอาจมีอาการแต่ไม่เป็นอันตราย
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ มี 3 ชนิด ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัด
โรคลิ้นหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่มีขนาดผิดปกติ หรือทำงานเสื่อมสภาพลงสาเหตุของโรคหัวใจ
ในกลุ่มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมักจะเกิดจากสาเหตุการมีก้อนไขมัน หรือมีก้อนลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดแดงในหัวใจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อวัยวะต่าง ๆ ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น นอกจากนี้โรคหัวใจอาจเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษบางอย่าง รวมไปถึงการได้รับถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา เป็นต้นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
อายุ ผู้ที่มีอายุมากขึ้น อวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบ
กรรมพันธุ์ โรคหัวใจบางชนิดสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นหากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่จะมีผลทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมัน เกลือ น้ำตาล หรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอล สูง และการไม่ออกกำลังกายเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ
ความเครียด มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ คือ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเทติก โดยจะเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง นอกจากนี้ความเครียดฉับพลันยังมีผลอย่างมากต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะอีกด้วยดูแลสุขภาพอย่างไรให้ห่างไกลโรคหัวใจ
ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักการจัดการความเครียด ควรหากิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือผ่อนคลายความเครียดได้
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม เกินไป ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากใย
ตรวจเช็กสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น ควรปรึกษาแพทย์ทันทีการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีความเสี่ยง
แม้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจะไม่สามารถออกแรงหนัก ๆ ได้ แต่การออกกำลังกายบางท่าสามารถทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้ดี ซึ่งเป็นผลดีสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ โดยวิธีการออกกำลังกายมีดังนี้การเดินเร็ว เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีอายุมาก เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรงจนเกินไป
แอโรบิก ทำให้ได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะอื่นได้ดีขึ้นด้วย
การวิ่ง ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ออกแรงมากขึ้น ลดความเครียด และช่วยให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้นด้วย
การว่ายน้ำ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และเกิดความยืดหยุ่นได้ดี
การเล่นเทนนิส กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่จึงทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้นโรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถสังเกตอาการได้ด้วยตนเอง หากพบว่าตนเองมีอาการ หรือมีความเสี่ยงเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจควรรีบเข้าพบแพทย์ หรือตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค และทำการรักษาต่อไป
ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ prime-tone.com
Economy
-
ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566
ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เปิดให้เช็กสิทธิแล้ว ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เปิดให้ผู้ลงทะเบียนเช็กสิทธิแล้ว วิธีตรวจสอบสถานะไม่ยุ่งยาก พร้อมแนะขั้นตอนสำหรับ “ผู้ผ่านเกณฑ์” และ “ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์” ต้องทำยังไงต่อไป
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ส่งข้อมูลผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการฯ) ปี 2565 ที่มีสถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์ให้หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณสมบัตินั้น บัดนี้ การดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในโครงการฯ ได้กำหนดวันประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติโครงการฯ ปี 2565 ในวันที่ 1 มี.ค. 2566
ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์สามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน
2. ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) สำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ สังกัดกรมบัญชีกลาง ที่ว่าการอำเภอทั้ง 878 อำเภอทั่วประเทศ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา เมืองพัทยา ตามวันและเวลาทำการของแต่ละหน่วยงานสำหรับการตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานรับลงทะเบียนแต่ละแห่ง3. โทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ Call Center โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วันจันทร์ – วันศุกร์ ตามเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th สำหรับผู้ที่ “ผ่านเกณฑ์” บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
1. ผู้ลงทะเบียนที่ตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 แล้ว พบว่า เป็นผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 ต้องยืนยันตัวตน ณ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. โดยสามารถยืนยันตัวตนได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนด้วย ณ ธนาคารดังกล่าวตามวันและเวลาทำการของแต่ละธนาคาร
2. เมื่อยืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเองผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ในวันถัดไป หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินจะให้บริการยืนยันตัวตนเป็นเวลา 180 วันนับจากวันที่ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติ (วันที่ 1 มีนาคม – 27 สิงหาคม 2566) และธนาคารกรุงไทยฯ จะให้บริการยืนยันตัวตน โดยยังไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดการให้บริการ สำหรับการยืนยันตัวตนในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร
4. ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้ ทั้งนี้ การผูกบัญชีพร้อมเพย์ไว้ล่วงหน้า จะทำให้ผู้ได้รับสิทธิสะดวกในการรับสิทธิสวัสดิการหากกรณีที่ภาครัฐมีสวัสดิการที่จะโอนเข้าบัญชีในอนาคต
ทั้งนี้ หากพบว่าสถานะการยืนยันตัวตนสมบูรณ์ ผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติจึงจะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการผ่านบัตรประจำตัวประชาชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ในกรณีที่ผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ยืนยันตัวตนสำเร็จตั้งแต่วันที่ 1 – 26 มีนาคม 2566 และในกรณีผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ยืนยันตัวตนหลังวันที่ 26 มีนาคม 2566 จะได้ใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด สำหรับผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐในปัจจุบัน จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐได้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2566 เท่านั้น
สำหรับผู้ที่ “ไม่ผ่านเกณฑ์” บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 แล้ว พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 ผู้ลงทะเบียนสามารถยื่นขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. – 1 พ.ค. 2566 ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่
1. ขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน
2. ขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทยฯ ธ.ก.ส. สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา ตามวันและเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน โดยให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ โดยผู้ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนก่อนดำเนินการยื่นอุทธรณ์
ทั้งนี้ หลังจากผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดำเนินการยืนยันการขออุทธรณ์ตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการขอตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้วยตนเอง หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติกำหนด เพื่อขอปรับปรุงหรือแก้ไขข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พ.ค. 2566.
ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : prime-tone.com
Latest News
Red Dead Online: วิธีเปิดใช้ Autopilot โลกเปิดของ Red Dead
นั้นใหญ่พอ ๆ กับโหมดเนื้อ...
สูตรการเดิมพัน คาสิโนออนไลน์ รวมเทคนิค เกมพนัน
รวมเทคนิค สูตรการเดิมพัน ...
แมนยู เล็งคว้าอดีตแข้งลิเวอร์พูล มาร์โก กรูยิช เสริมทัพ
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สโมส...
คอนเต้ ตำหนิผู้เล่นท็อตแนม’เห็นแก่ตัว’หลังเสมอเซาแธมป์ตัน
อันโตนิโอ คอนเต้ วิจารณ์ ...